top of page
Search
Writer's pictureThitipong

EP.08 นั่งแล้วปวดคอ บ่า หรือหลัง?

Updated: Mar 3, 2020

“เพราะอดีต ที่อาจนั่งแบบเดิมซ้ำๆ เลยปวดต้นคอ”

👉 บริเวณที่มีอาการปวดในแต่ละบุคคล เช่น คอ บ่า หรือหลังนั้น อาจแตกต่างกันได้ ทั้งนี้ก็เนื่องจากกล้ามเนื้อแต่ละมัดจะทำงานมากน้อยต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะท่าทางในการนั่งของแต่ละบุคคลนั่นเอง . ถ้าจะแนะนำท่านั่ง ก็คงจะน่าเบื่อเสียแล้ว เป็นว่าขอเรียบเรียง เพื่ออธิบายให้ทราบเหตุผลในการไม่นั่งหลังค่อมดีกว่า . 👉 สำหรับการนั่งแล้ว ไม่ว่าท่าที่นั่งนั้นจะเป็นท่าที่เหมาะสมหรือไม่ก็ตาม (นั่งหลังค่อม:slump, นั่งเหยียดหลังตรง:thoracic upright, หรือนั่งด้วยการบิดหมุนเชิงกราน:lumbo-pelvic upright sitting) กลุ่มกล้ามเนื้อด้านหลังลำคอ (cervical erector spinae) ยังเป็นกล้ามเนื้อที่มีเปอร์เซ็นการเกร็งตัวทำงานมากกว่า เมื่อเทียบกับกล้ามเนื้อบ่า หรือกล้ามเนื้อกลางหลัง . 🔎 เพียงแต่การนั่งหลังค่อม(slump posture)นั้น อาจคาดได้ว่าอาการปวดจะเกิด “บริเวณคอ” เด่นชัดกว่าบริเวณอื่นเมื่อเทียบกับอีกสองท่าที่ได้กล่าวไว้ตอนต้น เนื่องจากกลุ่มกล้ามเนื้อด้านหลังลำคอ ต้องคอยดึงประคองศีรษะเพิ่มขึ้นมากในท่าดังกล่าว ด้วยเหตุนี้ ท่านั่งหลังค่อมจึงเป็นท่าที่ควรเลี่ยงนั่นเอง . 🔎 ส่วนท่านั่งเหยียดหลังตรง (thoracic upright) การทำงานของกลุ่มกล้ามเนื้อในท่านี้จะตรงไปตรงมา คือ กล้ามเนื้อกลางหลัง (thoracic erector spinae) จะทำงานเพิ่มขึ้นกว่าท่าอื่น จึงไม่แปลกที่ไม่สามารถนั่งโดยเหยียดเฉพาะกลางหลังให้ตรงได้นานๆ และมักลงเอยด้วยการกลับไปนั่งท่าหลังค่อมซึ่งสบายหลังกว่า 😀 . 🔎 ส่วนการนั่งด้วยการหมุนเชิงกราน (lumbo-pelvic upright sitting) ไปด้านหน้า เป็นท่าที่กลุ่มกล้ามเนื้อด้านหลังลำคอและกล้ามเนื้อกลางหลังจะทำงานน้อยกว่าสองท่าข้างต้น อย่างไรก็ตามควรระมัดระวังการแอ่นหลังที่มากเกินไปด้วยเช่นกัน . สิ่งที่น่าสนใจ คือ ท่านั่งทั้ง 3 รูปแบบ ไม่ทำให้กล้ามเนื้อบ่า (Upper trapezius) ทำงานแตกต่างกัน กล่าวคือ อาการปวดบริเวณบ่าจึงอาจมีสาเหตุมาจากมาปัจจัยอื่น ซึ่งนักกายภาพบำบัดต้องตรวจประเมินต่อ เพื่อออกแบบการรักษาและท่าการออกกำลังกายเพื่อการรักษาที่เหมาะสม . 🎯 แล้วต้องนั่งอย่างไร? . “หมุนเชิงกรานไปด้านหน้าเล็กน้อย เหยียดหลังนิด ก้มคางเหยียดคอหน่อย” . อย่างไรก็ตาม อย่าลืม “ยืนขึ้นบ้าง นั่งให้น้อย ขยับเยอะๆ” https://tinyurl.com/yxz9c9yw เหมือนอย่างที่ได้แนะนำกันไป 😀

เรียบเรียงโดย กภ.ฐิติพงศ์


สอบถามเพิ่มเติม 👨‍💻ThitipongClinic ฐิติพงศ์ คลินิกกายภาพบำบัด ภูเก็ต Thitipong Physical Therapy Clinic

#คลินิกกายภาพบำบัด #ภูเก็ต #ถลาง #สาคู 112


#ปวดหลัง #ปวดคอ #ท่านั่ง #ปรับท่านั่ง #officesyndrome #กายภาพบำบัด #คลินิกกายภาพบำบัด #ในยาง #ภูเก็ต #Thitipongclinic #functionalmovement #physio #rehab #health#exercise #healthy #pain #lifestyle #naiyang #phuket#physiotherapist #physical #therapy


🔎Reference: Caneiro, Joao Paulo, et al. "The influence of different sitting postures on head/neck posture and muscle activity." Manual therapy 15.1 (2010): 54-60. Kim, DeokJu, et al. "Effect of an exercise program for posture correction on musculoskeletal pain." Journal of physical therapy science 27.6 (2015): 1791-1794.


101 views0 comments

Comments


Commenting has been turned off.
bottom of page