top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนThitipong

EP.22 เสียงเข่ากรอบแกรบ (Crepitus Sound)



เมื่อเข่ามีเสียงกรอบแกรบ ต้องหยุดเคลื่อนไหวจริงหรือ?


หากเสียงกรอบแกรบของเข่ากำลังเป็นอุปสรรคขัดขวางการทำกิจกรรมทางกายหรือเป็นข้ออ้างในการไม่ออกกำลังกาย หรือข้ออ้างสำหรับการ “พักก่อน” (เพลงลอยมา) เรามาดูข้อมูลเหล่านี้ด้วยกัน


การศึกษาพบว่า ผู้หญิงที่ปวดเข่าทางด้านหน้า (บริเวณข้อต่อกระดูกสะบ้าและกระดูกต้นขา) นั้น จะมีเสียงกรอบแกรบของเข่า มากกว่าผู้ที่ไม่มีอาการปวดเข่า แต่อย่างไรก็ตามเสียงดังกล่าวนั้น กลับพบว่าไม่สัมพันธ์กับการทำหน้าที่เหยียดงอเข่า กิจกรรมทางกาย และรวมถึงอาการเจ็บปวดอีกด้วย


ในทางกลับกันนั้น ผู้ที่มีเสียงกรอบแกรบของเข่าแต่ไม่มีอาการปวด กลับพบว่าความแข็งแรงของกล้ามเนื้องอและเหยียดเข่านั้นจะทำได้ไม่ดี ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากความกังวลใจ และพยายามเลี่ยงไม่ให้เกิดเสียง


จึงเป็นไปได้ว่า เสียงกรอบแกรบดังกล่าว มีผลต่อการรับรู้ของผู้ป่วย ในแง่อารมณ์ความรู้สึกทางลบเสียมากกว่า โดยมีปัจจัยจาก


  1. เข้าใจผิดว่า เสียงกรอบแกรบนั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงตามวัย ไม่ได้เข้าใจว่าเสียงดังกล่าวเป็นเพียงแค่เสียงที่เกิดจากเข่า

  2. มีคนใกล้ชิดอย่างเพื่อนหรือญาติ ผู้เชี่ยวชาญอย่างบุคคลากรทางการแพทย์ เคยแสดงความเห็นเกี่ยวกับเสียงกรอบแกรบของเข่านั้นไว้ และเชื่อตามความเห็นนั้น

  3. ผลคือ การพยายามเลี่ยงไม่ให้เกิดเสียงกรอบแกรบ โดยการเลี่ยงไม่ทำกิจกรรมทางกาย (ไม่ขยับเคลื่อนไหวร่างกาย) หรือแม้แต่การเลี่ยงไม่ทำกายภาพบำบัด (มองว่าอายุมากแล้ว ไม่รู้จะทำไปทำไม) เป็นต้น ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมการเคลื่อนไหวที่ลดน้อยลง อธิบายเรียกพฤติกรรมลักษณะนี้ว่า fear-avoidant behaviour หรือกล่าวคือ เป็นพฤติกรรมหลีกเลี่ยงบางอย่างเพราะเกิดความกลัวหรือกังวล


เมื่อขยับเคลื่อนไหวน้อยลง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อก็น้อยลงตามนั่นเอง


แม้ยังไม่สามารถกล่าวยืนยันได้ว่า เสียงกรอบแกรบของเข่าจะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอาการปวดเข่าทางด้านหน้าหรือไม่ แต่การศึกษานี้อาจช่วยยืนยันว่า เสียงกรอบแกรบของเข่านั้น ไม่สัมพันธ์กับการทำหน้าที่เหยียดงอเข่า กิจกรรมทางกาย และรวมถึงอาการเจ็บปวด


ดังนั้น เมื่อมีเสียงกรอบแกรบของเข่าเกิดขึ้น นั่นอาจไม่ใช่ข้อบ่งชี้ในการลดกิจกรรมทางกายลง โดยเฉพาะในผู้ที่มีเสียงกรอบแกรบของเข่าแต่ไม่มีอาการปวด ซึ่งลดกิจกรรมทางกายลงเพียงเพราะอารมณ์ความรู้สึกทางลบ (คิดไปเอง) กลายเป็นพฤติกรรมหลีกเลี่ยงบางอย่างเพราะเกิดความกลัวหรือกังวล ซึ่งอาจลดทอนการขยับเคลื่อนไหว และอย่างน้อยที่สุด คือ ส่งผลต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้นั่นเอง


#จะไม่หยุดเคลื่อนไหวถ้ายังไม่ถึงเวลาพัก


.

แปลและเรียบเรียงโดย

กภ.ฐิติพงศ์

.

#ขอบคุณทุกท่านที่ไว้วางใจ #ฐิติพงศ์คลินิกกายภาพบำบัด

#กายภาพบำบัด #คลินิกกายภาพบำบัด #ภูเก็ต #ในยาง

.

👨‍💻ThitipongClinic

#ฐิติพงศ์คลินิกกายภาพบำบัด #ภูเก็ต

Thitipong Physical Therapy Clinic

ที่ตั้ง 112 #คลินิกกายภาพบำบัด #ภูเก็ต #ถลาง #สาค

.

.

.

🔎Reference:

[] de Oliveira Silva, D., Pazzinatto, M. F., Del Priore, L. B., Ferreira, A. S., Briani, R. V., Ferrari, D., ... & de Azevedo, F. M. (2018). Knee crepitus is prevalent in women with patellofemoral pain, but is not related with function, physical activity and pain. Physical Therapy in Sport, 33, 7-11.

[] de Oliveira Silva, D., Barton, C., Crossley, K., Waiteman, M., Taborda, B., Ferreira, A. S., & de Azevedo, F. M. (2018). Implications of knee crepitus to the overall clinical presentation of women with and without patellofemoral pain. Physical Therapy in Sport, 33, 89-95.

[] Pazzinatto, M. F., de Oliveira Silva, D., Faria, N. C., Simic, M., Ferreira, P. H., de Azevedo, F. M., & Pappas, E. (2019). What are the clinical implications of knee crepitus to individuals with knee osteoarthritis? An observational study with data from the Osteoarthritis Initiative. Brazilian journal of physical therapy, 23(6), 491-496.

[] Robertson, C. J., Hurley, M., & Jones, F. (2017). People's beliefs about the meaning of crepitus in patellofemoral pain and the impact of these beliefs on their behaviour: a qualitative study. Musculoskeletal Science and Practice, 28, 59-64.




ดู 170 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page