แขนไพล่หลัง กับอาการปวดไหล่ | EP.25
- Thitipong
- 28 เม.ย. 2564
- ยาว 1 นาที
อัปเดตเมื่อ 21 เม.ย. 2566
“ทิศทางการจำกัดการเคลื่อนไหว ของข้อไหล่ติด”

.
โครงสร้างข้อไหล่มีลักษณะเชิงซ้อน โดยมีส่วนประกอบหลายอย่างเรียงตัวซ้อนกัน ประกอบด้วยกระดูก(bone) กระดูกอ่อน(cartilage) ขอบข้อกระดูก(labrum) เอ็นข้อต่อ (ligaments) เยื่อหุ้มข้อ(capsule) เอ็นกล้ามเนื้อ(tendons) เส้นประสาท(nerve) และกล้ามเนื้อ(muscles) ทำหน้าที่เชื่อมส่วนรยางค์แขนเข้ากับลำตัวและเคลื่อนไหวแขนในทิศทางต่างๆ
.
เมื่อเกิดการบาดเจ็บที่เกิดบริเวณข้อไหล่ จึงมีผลให้เกิดการจำกัดการเคลื่อนไหวในทิศต่างๆ ซึ่งจะสัมพันธ์กับโครงสร้างที่ได้รับบาดเจ็บ
.
เป็นต้นว่า เมื่อเคลื่อนมือในท่าไพล่หลัง (internal rotate with adduction) หรือเคลื่อนแขนขึ้นในท่ามือประสานท้ายทอย (external rotae with abduction) นั้น ระดับความสูงของมือเมื่อเลื่อนขึ้นไปตามแนวกลางหลัง หรือการหุบเข้า-แบะออกของศอกนั้น (ตามลำดับ) จะเป็นตัวแปรซึ่งกระตุ้นอาการปวด ทั้งนี้ เนื่องจากบริเวณเยื่อหุ้มข้อด้านหลังกับด้านบน (coracohumeral ligament) และเยื่อหุ้มข้อด้านหน้ากับด้านล่าง (axillary pouch; inferior glenohumeral ligament) ของข้อไหล่ถูกยืดออกด้วยทั้ง 2 ท่าในข้างต้น ตามลำดับ นอกจากนี้ระดับความสูงของมือและศอกที่เลื่อนไป ยังสามารถใช้ติดตามอาการและประเมินช่วงการเคลื่อนไหวของไหล่ได้อีกด้วย
.
สำหรับ กรณีเยื่อหุ้มข้อไหล่อักเสบจนมีภาวะไหล่ติดนั้น สาเหตุเพราะเมื่อเกิดการหนาตัวของเยื่อหุ้มข้อด้านบน (coracohumeral ligament) ก็จะมีผลต่อการหมุนแขนออก (external rotation) ส่วนการหนาตัวขึ้นของเยื่อหุ้มข้อด้านล่าง (axillary pouch) ก็จะมีผลต่อการกางแขน (abduction) ซึ่งภายหลังเมื่อเยื่อหุ้มข้อหนาตัวเป็นพังผืดจึงเกิดการจำกัดการเคลื่อนไหว จากภาวะเยื่อหุ้มข้ออักเสบยึดรั้ง(adhesive capsulitis) หรือกลุ่มอาการข้อไหล่ติด(frozen shoulder) นั่นเอง ที่กล่าวมานี้เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนที่อาจเกิดขึ้นได้เท่านั้น
.
ดังนั้น เมื่อมีภาวะไหล่ติดซึ่งจำกัดช่วงการเคลื่อนไหว การตรวจประเมินเพื่อระบุความบกพร่องด้านการเคลื่อนไหว (movement impairement) ว่าเกิดขึ้นในทิศทางใดและสัมพันธ์กับโครงสร้างใด จึงมีความสำคัญ ทั้งนี้เพราะโครงสร้างแต่ละอย่างมีอาการและอาการแสดงแตกต่างกัน ซึ่งสามารถแยกแยะได้ด้วยการซักประวัติและตรวจร่างกาย
.
#จะไม่หยุดเคลื่อนไหวถ้ายังไม่ถึงเวลาพัก
.
.
แปลและเรียบเรียงโดย
กภ.ฐิติพงศ์
.
#กายภาพบำบัด #คลินิกกายภาพบำบัด #ภูเก็ต #ในยาง
.
👨💻ThitipongClinic
Thitipong Physical Therapy Clinic
.
Line: http://nav.cx/5o54UZu
.
.
🔎Reference:
.
[] Lee, H., Kim, S. Y., & Chae, S. W. (2017). A comparative study of the behaviors of normal and frozen shoulder: A finite element study. International Journal of Precision Engineering and Manufacturing, 18(4), 545-553.
[] Bhatia, D. N., & de Beer, J. F. (2007). The axillary pouch portal: a new posterior portal for visualization and instrumentation in the inferior glenohumeral recess. Arthroscopy: The Journal of Arthroscopic & Related Surgery, 23(11), 1241-e1.
Comments